ความหมายของ HTML,XML,XHTML,CSS

ความหมายของ HTML,XML,XHTML,CSS
HTML (Hyper Text Markup Language)
ภาษานี้คงคุ้นกันดีอยู่ในหมู่นักเขียนเว็บทั้งหลาย HTML ภาษานี้เป็นภาษาที่ Browser ส่วนใหญ่เข้าใจดีว่าคืออะไรและสามารถประมวลผลได้อย่างถูกต้อง Browser ส่วนมากนั้นจะรันบนคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยความจำมาก จึงไม่ค่อยเป็นปัญหามากนักในการประมวลผลแม้ว่าบางครั้งผู้เขียนโค้ดอาจเขียนโค้ดผิดพลาดก็ตาม แต่ Browser ก็สามารถเดาได้และแสดงผลได้อย่างถูกต้องเป็นส่วนมาก แต่ปัญหาก็คือ หากต้องการใส่แท็กใหม่ ๆ ลงไป เอกสาร HTML จะไม่สามารถประมวลผลได้ มันจะประมวลผลเฉพาะแท็กที่มันรู้จักเท่านั้น นั่นคือตัว HTML มีความจำกัด นอกจากนี้แล้วเอกสาร HTML ยังถูกเอาไปใช้อย่างผิดความหมายและผิดวัตถุประสงค์ ทำให้เอกสารมีความยุ่งยาก ทำความเข้าใจยาก ต้องใช้เวลามากในการเขียนหรือออกแบบเนื่องจากมีการปนกันของเนื้อหาและการตกแต่งเอกสาร เอกสาร HTML ส่วนมากจึงเกิดสภาพที่เรียกว่า malformed ซึ่งตรงข้ามกับคำว่า well-formed ซึ่งหมายถึง เอกสารมีความถูกต้อง ไม่มีข้อผิดพลาดและไม่ฝืนข้อกำหนดของตัว DTD
XML (eXtensible Markup Language)
ภาษานี้สร้างขึ้นมาเพื่อการสร้างเอกสารที่เรียบง่ายและเข้าใจได้ไม่ยาก เนื่องจาก HTML นั้นมีข้อจำกัดที่ว่าไม่สามารถเพิ่มแท็กใหม่ ๆ เข้าไปได้ ทำให้การสร้างเอกสารอาจไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของผู้ที่จะให้ข้อมูล XML นั้นเป็นภาษาที่เราสามารถสร้างแท็กขึ้นมาเองได้ และเราสามารถสร้างเอกสาร DTD ขึ้นมาได้ด้วยเพื่อที่จะใช้เป็นข้อกำหนดว่าจะมีแท็กใดได้บ้าง จะเอาไปใช้อย่างไร เป็นต้น แม้ว่า Browser จะไม่เข้าใจวิธีการแสดงผลแท็กที่เราสร้างขึ้นเอง นั่นก็ไม่ใช่ปัญหา เนื่องจากว่า XML ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการสร้างเว็บที่สวยงาม แต่เพื่อการทำเอกสารที่ให้ความหมายได้อย่างดี สื่อความหมายชัดเจนมากขึ้น และมักจะใช้ในการส่งข้อมูลซึ่งก็แล้วแต่ว่าเราจะสร้าง application อะไรมาทำการประมวลผลข้อมูลเหล่านี้และจะแสดงผลอย่างไร ข้อควรระวังคือ เอกสาร XML นั้นจะมีข้อผิดพลาดไม่ได้เลย หากมีความผิดพลาดอย่างเช่น ลืมปิดแท็ก หรือแท็กเปิดกับแท็กปิดไม่เหมือนกันหรือมีแท็กคาบเกี่ยวกัน มันจะไม่แสดงผลเลยและเราจะประมวลผลไม่ได้
XHTML (eXtensible Hyper Text Markup Language)
เป็นภาษาที่รวมเอาทั้ง HTML และ XML ไว้ด้วยกัน ประโยชน์ของมันคือการสร้างเว็บเพื่อการส่งข้อมูลทั่ว ๆ ไปอย่างหนึ่ง เพิ่มขีดความสามารถในการสร้างแท็กใหม่ ๆ ได้เองอย่างหนึ่ง (โดยที่เรากำหนดได้ด้วยว่าจะให้แท็กเหล่านั้นแสดงผลอย่างไร) รองรับภาษาอื่น ๆ ที่ใช้ XML เป็นฐาน เช่น (SVG, MathML, chemML, SMIL) อีกอย่างหนึ่งและสุดท้ายคือ รองรับเทคโนโลยีในอนาคตซึ่งจะมี XML เป็นบทบาทหลัก เนื่องจากว่าในปัจจุบันนี้ มีความพยายามที่จะเข้าถึงเว็บด้วยอุปกรณ์ที่ไม่ใช่คอมพิวเตอร์มากขึ้นเช่น โทรศัพท์มือถือ โปรแกรมเสียงสังเคราะห์ ทีวี เบรลล์ หรืออุปกรณ์พกพาอื่น ๆ แต่เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้ มีขนาดเล็กและอาจมีหน่วยความจำไม่มาก จึงอาจไม่สามารถประมวลผล HTML แบบทั่ว ๆ ไปได้เพราะไม่มีความสามารถที่จะแก้ข้อผิดพลาดได้หากมีการเขียนโค้ดไม่ถูกต้อง XHTML จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เนื่องจากว่าเอกสาร XHTML นั้นจะต้องมีลักษณะที่เรียกว่า well-formed ไม่มีข้อผิดพลาด มีการเปิดปิดแท็กอย่างถูกต้อง ฯลฯ จึงทำให้สามารถแสดงผลเอกสารนี้ได้อย่างง่ายดาย หากเอกสารไม่ถูกต้อง ก็อาจจะไม่แสดงผลไปเลย เหมือนกับเอกสาร XML
CSS(Cascading Style Sheet)
เนื่องจากมีการนำ HTML มาใช้ผิด ๆ กันมาก โดยเฉพาะการนำแท็กอย่างแท็ก <font>, <b>, <i>, <u>, <big>, <small> และแอททริบิวต์อย่างเช่น align, bgcolor, background, border ฯลฯ ซึ่งถูกใช้ไปในการตกแต่งเอกสาร ทำให้เอกสาร HTML มีความซับซ้อนมาก ใช้เวลามากในการเขียนหรือออกแบบ จึงได้มีการแนะนำภาษาใหม่ที่เรียกว่า CSS นี้ขึ้นมา หน้าที่ของภาษานี้ก็คือ การตกแต่งเอกสารของ HTML หรือ XHTML หรือ XML ให้มีหน้าตา สีสัน ตัวอักษร เส้นขอบ พื้นหลัง ระยะห่าง ฯลฯ อย่างที่เราต้องการ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อลดการใช้ภาษา HTML ในการตกแต่งเอกสาร เพื่อให้เอกสาร HTML สะอาดขึ้น เข้าใจง่ายขึ้น แก้ไขง่ายและใช้เวลาน้อย CSS กับ HTML หรือ XHTML นั้นจะทำหน้าที่คนละอย่างกัน พร้อมกัน แต่ไม่รบกวนซึ่งกันและกันและแยกจากกันอย่างเด็ดขาด นั่นคือ HTML หรือ XHTML จะทำหน้าที่ในการวางโครงร่างเอกสารอย่างเป็นรูปแบบ ถูกต้อง เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ไม่มีการใช้แท็กผิดความหมาย ไม่เกี่ยวข้องกับการแสดงผล และ CSS จะทำหน้าที่ในการตกแต่งเอกสารให้สวยงาม CSS นั้นพัฒนาไปมากแล้ว สามารถทำได้ถึงขึ้นที่ว่า วางวัตถุซ้อนกันได้ กำหนดความโปร่งใสได้ หมุนตัวอักษรตามองศาที่เรากำหนดได้ ตอนนี้เรามี CSS 3.0 แล้ว แต่ว่า Browser ส่วนใหญ่ยังไม่สนับสนุน CSS 2.0 นั้นเป็นตัวที่เราใช้ในปัจจุบัน ข้อดีของ CSS อีกอย่างหนึ่งก็คือ มันสามารถกำหนดการแสดงผลให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ด้วย เช่น เราอาจต้องการให้แสดงผลในจอคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่ง แสดงผลเวลาสั่งพิมพ์อีกอย่างหนึ่ง แสดงผลในโทรศัพท์มือถืออีกอย่างหนึ่ง แสดงผลในทีวีอีกอย่างหนึ่ง แสดงผลในอักษรเบรลล์อย่างหนึ่ง หรืออาจจะกำหนดให้โปรแกรมสังเคราะห์เสียงอ่านข้อความต่าง ๆ ด้วยน้ำเสียงที่ต่างกันได้โดยใช้น้ำเสียงต่าง ๆ เช่น ตกใจ ดีใจ เสียใจ ได้ กำหนดความดังเสียงได้ ฯลฯ จะเห็นได้ว่ามันจะทำให้ง่ายต่อการใช้งานกับอุปกรณ์ต่าง ๆ นั่นเอง อย่างเช่น จอโทรศัพท์มือถือมีขนาดเล็ก เราอาจจะใช้ CSS สั่งให้ซ่อนส่วนที่ไม่จำเป็นหรือลดขนาดตัวอักษรลง หรือเปลี่ยนการแสดงผลไปเลยก็ได้ คนพิการได้รับประโยชน์จาก CSS และ XHTML ตรงที่ว่า เขาสามารถเข้าใจเอกสารได้ดีมากขึ้น เนื่องจากว่า เนื้อหากับการแสดงผลถูกแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด ทำให้ไม่สับสน ผู้พิการบางคนมองไม่เห็น จึงไม่จำเป็นต้องเห็นความสวยงามในเว็บ แต่ต้องการข้อมูลที่เข้าถึงได้ ไม่ซับซ้อน นั่นหมายถึงเขาสามารถเลือกบริโภคเฉพาะเนื้อหาได้โดยที่ไม่มีเรื่องการแสดงผลมารบกวนเลย
อะไรที่เรียกว่า การใช้แท็กผิดความหมายถ้าสมมติว่ามีข้อความหนึ่งเขียนว่า ต้องส่งภายในวันที่ 15 เมษายน 2549 เท่านั้นมีเว็บมาสเตอร์สองคน นาย A เลือกมาร์กอัพข้อความนี้ด้วยแท็ก <i> (i = italic = เอียง)ส่วนนาย B เลือกมาร์กอัพด้วยแท็ก <em> (em = emphasize = เน้นความสำคัญ)ทำให้ได้ลักษณะการมาร์กอัพ ดังนี้ต้องส่งภายในวันที่ 15 เมษายน 2549 เท่านั้น และต้องส่งภายในวันที่ 15 เมษายน 2549 เท่านั้น
และการมาร์กอัพของทั้งสองคนนี้ แสดงผลเหมือนกัน คือ มีลักษณะเป็นข้อความที่เป็นตัวอักษรเอียง ดังนี้ ต้องส่งภายในวันที่ 15 เมษายน 2549 เท่านั้น
หรือถ้าใช้ชื่อแท็กเป็นภาษาไทย (เป็นเทคนิคที่ดีในการตรวจสอบการใช้แท็กของเรา) ก็จะเขียนได้เป็น
<เอียง>ต้องส่งภายในวันที่ 15 เมษายน 2549 เท่านั้น</เอียง> และ
<เน้นความสำคัญ>ต้องส่งภายในวันที่ 15 เมษายน 2549 เท่านั้น</เน้นความสำคัญ>
สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ แม้ว่าจะแสดงผลเหมือน ๆ กัน แต่การมาร์กอัพแบบไหนที่ให้ข้อมูลแก่ผู้อ่านได้มากที่สุด? แม้ว่าผู้อ่านส่วนมากไม่สนใจเรื่องความหมายทางภาษา HTML ก็ตามจากตัวอย่างข้างต้น แท็ก <em> ให้ความหมายได้ดีกว่า เนื่องจากเป็นการบอกว่าข้อความที่อยู่ข้างในมีความสำคัญ แต่แท็ก <i> นั้นบอกเพียงแต่ว่า เป็นตัวอักษรเอียงเท่านั้น ซึ่งแม้ว่าเราจะใช้ตัวเอียงในการเน้นความสำคัญเป็นธรรมเนียมปฏิบัติส่วนมาก แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นทุกกรณี หรือบางคนที่มองไม่เห็นก็จะไม่สามารถรับรู้ได้ว่าข้อความนี้เน้นความสำคัญเป็นพิเศษ การใช้แท็กที่สื่อความหมายก็จะเข้ามาแก้ปัญหาตรงนี้ ทำให้ผู้ที่ไม่สามารถมองเห็นเข้าใจความสำคัญของข้อความได้ เนื่องโปรแกรมอ่านหน้าจอจะทำงานกับโค้ด HTML ด้วย เพื่อให้ผู้อ่านรับรู้ข้อมูลทางโครงสร้างของเอกสารได้ หากมีการให้ข้อมูลผิดพลาดเกี่ยวกับข้อความเช่นกรณีข้างต้น ก็จะส่งผลให้เกิดความเข้าใจผิด หรือไม่สามารถเข้าใจเอกสารได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นสิ่งที่ต้องพึงระวังคือ การมาร์กอัพต้องเข้าใจได้หรือ Make sense
ในกรณีของผู้ที่ไม่สนใจการอ่านจากโค้ด HTML นั้น (ซึ่งก็คือผู้อ่านส่วนมากที่สามารถมองเห็นการแสดงผลได้) เราก็ควรจะอำนวยความสะดวกให้ผู้อ่านเข้าใจถึงความสำคัญของข้อความได้โดย การแสดงผลที่เด่นชัดขึ้นกว่าข้อความปกติธรรมดาทั่วไป เช่น อาจทำให้ตัวหนาขึ้น หรือเป็นตัวเอียง โดยใช้คำสั่งจาก CSS เท่านั้น หรือบางกรณีอาจไม่จำเป็นต้องกำหนดเพิ่มเติม แต่ใช้ค่ามาตรฐานของบราวเซอร์ในการแสดงผลเลยก็ได้ เช่น แท็ก <em> ทุก ๆ บราวเซอร์ก็จะแสดงผลข้อความที่อยู่ข้างในเป็นตัวเอียงอยู่แล้ว โดยที่เราไม่ต้องไปปรับค่าเพิ่มเติม ยกเว้นว่าต้องการให้มีคุณลักษณะที่แตกต่างออกไปอีกจะเห็นได้ว่า การแสดงผลที่ดี เป็นมาตรฐาน และการมาร์กอัพอย่างเหมาะสมนั้นสามารถรองรับความต้องการของผู้ใช้งานเว็บได้ทั้ง 2 กลุ่ม ในการมาร์กอัพ ก็ควรใช้แท็กอย่างฉลาดและเหมาะสม ในขณะเดียวกัน ในเรื่องของการแสดงผล ก็ต้องมั่นใจว่า ผู้ใช้สามารถเข้าใจความหมายจากการมองเห็นได้ และต้องไม่สร้างความสับสน อย่างเช่น โดยปกติแล้ว ทุกบราวเซอร์จะแสดงผล <h1> เป็นตัวอักษรขนาดใหญ่ ผู้ใช้เองก็จะเข้าใจว่านี่คือหัวเรื่องลำดับที่ 1 จากการมองเห็น แต่ถ้าเราไปเปลี่ยนขนาด เช่น ทำให้ <h2> ใหญ่กว่า <h1> หรือทำให้ <h1> มีขนาดเล็กมาก จนแทบไม่แตกต่างจากตัวอักษรทั่ว ๆ ไป ผู้อ่านก็จะเกิดความเข้าใจผิด และไม่สามารถแยกแยะได้ว่าอันไหนคือหัวเรื่องหลัก หรือเอกสารนี้มีหัวเรื่องหรือไม่

คำศัพท์ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และ อินเตอร์เน็ต 2

คำศัพท์ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และ อินเตอร์เน็ต

 
ASP
ASP (Active WebServer Page) เป็นสคริปต์ที่ทำงานอยู่บนเว็บเซิร์ฟเวอร์มีส่วนขยายเป็น .asp ปกติมักจะนำมาใช้กับเว็บ เซิร์ฟเวอร์ที่มีระบบปฏิบัติการ WindowsNT โดยอาศัยการควบคุมด้วยโปรแกรมอินเตอร์เน็ต Information เว็บเซิร์ฟเวอร์ (IIS) ของไมโครซอฟท์ ลักษณะของไฟล์ *.asp จะประกอบด้วยโค้ดที่แทรกไว้ระหว่างโค้ดภาษา HTML การทำงาน ASP นั้นจะใช้การ เรียกใช้จากฝั่งผู้ใช้งานเว็บไซต์ด้วยบราวเซอร์โดยจะมีการประมวลผลที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ก่อนที่จะแสดงผลที่บราวเซอร์ ช่วยลด ความอืดอาดในการใช้งานอินเตอร์เน็ตลงได้มาก

Browser
บราวเซอร์ (Browser Web Browser) เป็นโปรแกรมสำหรับเปิดดูไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ ในอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่ จะมีส่วนขยาย เป็น *.htm *.html *.asp *.php *.pl ส่วนรูปภาพจะเป็นรูปแบบ *.jpg *.gif *.png เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการติดต่อ ระหว่างผู้ใช้งานอินเตอรืเน็ตกับผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตคนอื่น ๆ หรือระหว่างผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจะทำให้ สามารถเรียกดูข้อมูลต่าง ๆ ทั้งที่เป็นข้อความหรือรูปภาพได้จากเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วโลกและยังสามารถใช้บริการต่าง ๆ ได้อีก มากมาย เช่น บริการ E-mail รับส่งข้อมูลผ่านบราวเซอร์ได้ ในปัจจุบันยังสามารถที่จะฟังเพลงหรือชมภาพยนต์ตัวอย่าง ฟังวิทยุ หรือแม้แต่การชมการถ่ายทอดสดผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตโดยอาศัยบราวเซอร์และโปรแกรมเสริม(Plug-in)ต่าง ๆ ได้อีกด้วย มีโปรแกรมบราวเซอร์หลายโปรแกรม เช่น Internet Exporer (IE) , Netscape , Opera

CGI
CGI (Common Gateway interface) เป็นการติดต่อระหว่างผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ และโดยเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้จัดเตรียมโปรแกรม CGI ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดรูปแบบข้อมูลที่จะส่งไปยังผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตในขณะ ที่ยังสามารถรับข้อมูลจากผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ด้วย เช่น การใช้งานห้องสนทนาที่จะรับข้อความมาจากผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต และส่งข้อความของเขาและคนอื่น ๆ มาแสดงที่บราวเซอร์ได้ด้วย
เบื้องหลังของ CGI จะถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาสคริปต์หลายอย่าง เช่น โปรแกรม Perl ASP PHP เป็นต้นซึ่งจะมีส่วนประกอบ พื้นฐาน ดังนี้
GET -- ข้อมูลจะถูกส่งไปกับ query string ของ URL จะส่งข้อมูลใน query_string ไปยัง HTTP เว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ทำงาน อยู่ในเครื่อง
POST -- ข้อมูลจะถูกส่งไปในลักษณะของ message body ติดไปกับ request message ที่ถูกส่งโดย client ไปยังเว็บ เซิร์ฟเวอร์ วิธีการนี้มีขั้นตอนที่ซับซ้อนกว่า GET แต่สามารถใช้กับข้อมูลที่ซับซ้อนกว่าได้ดีกว่า
ความแตกต่างระหว่าง GET และ POST โดยทั่วไป GET ใช้สำหรับเรียกไฟล์ หรือทรัพยากรอื่น ๆ จากเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดย สามารถมี parameter ระบุไว้ตามที่ต้องการได้ ในกรณีของการรับข้อมูล จาก form URL ของการ GET จะเป็น GET คือวิธีการที่บราวเซอร์ใช้ในการดาวน์โหลดแฟ้มข้อมูล เช่น เอกสาร HTML หรือรูปภาพและยังสามารถใช้ในการส่งข้อมูลจาก form ได้ด้วย ถ้าหากว่าข้อมูลนั้นไม่มากจนเกินไป (ข้อจำกัดของขนาดข้อมูลขึ้นอยู่กับบราวเซอร์) ผลกระทบของการใช้วิธีการ GET คือบราวเซอร์และ proxy จะสามารถจดจำผลลัพธ์ของการ GET ไว้ใน cache ได้
เพราะฉะนั้นในการเรียกใช้โปรแกรมด้วยวิธี GET หลายอาจจะได้ผลลัพธ์เก่าออกมาก็เป็นได้ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้วิธี GET ถ้าหากว่าต้องการที่จะเก็บข้อมูลสำหรับการเรียกใช้โปรแกรมแต่ละครั้ง เฉพาะเป็นครั้ง ๆ ไป หรือกับโปรแกรม CGI ที่ต้องการ ที่จะนำเสนอข้อมูลที่ใหม่ (update) เสมอทุกครั้งที่มีการเรียกใช้โดยปกติแล้ว POST ใช้สำหรับส่งข้อมูลไปให้เว็บเซิร์ฟเวอร์ เพื่อประมวลผล เมื่อ HTML form ส่งออกไปยังเว็บเซิร์ฟเวอรืด้วยวิธีการ POST ข้อมูลของคุณจะแนบไปกับส่วนท้ายของข้อมูล เรื่องขอใช้งานโปรแกรม เวลาใช้งานวิธี POST อาจจะไม่ง่ายและเร็วเท่ากับการใช้วิธี GET แต่สามารถทำงานกับข้อมูลที่ สลับซับซ้อนได้ดีกว่า คุณสามารถส่งแฟ้มข้อมทูลไปกับวิธีการ POST ได้ด้วยเช่นกัน ขนาดของข้อมูลที่จะส่งจะไม่ถูกจำกัด เหมือนวิธีการ GET
อย่างไรก็ตามสำหรับผู้เขียนโปรแกรม CGI แล้ว ทั้งวิธีการ GET และ POST ต่างก็ไม่ยากที่จะใช้งานด้วยกันทั้งคู่ ข้อดีของ วิธีการ POST คือ วิธีการ POST ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ไม่จำกัดขนาด และสามารถนับจากโปรแกรม CGI ได้จริง ๆ ว่ามีการ เรียกใช้โปรแกรมกี่ครั้ง ส่วนข้อดีสำหรับการใช้วิธี GET ข้อมูลจากการกรอก form ทั้งหมดจะถูกส่งไปเป็น URL เดียว สามารถ จะใช้ผ่าน hyperlink หรือ bookmark ได้โดยไม่ต้องกรอกฟอร์มทุกครั้ง

Chat
Chat นั้นเป็นการสนทนาด้วยข้อความหรือแลกเปลี่ยนไฟล์กันแบบสด ๆ ผ่านทางอินเตอรืเน็ต (มักจะเรียกว่าแบบ Realtime หรือเรียกอีกชื่อว่า InterActive)ที่สามารถโต้ตอบกันได้ทันทีทำให้ได้รับความนิยมเป็นจำนวนมากโดยมีโปรแกรม สำหรับการ Chat หลายตัว เช่น ICQ IRC mIRC Perch Odigo และอื่น ๆ

FTP
FTP (File Transfer Protocol , File Transfer Program) เป็นบริการหนึ่งในอินเตอร์เน็ตที่เป็นบริการโอนไฟล์ขึ้นไปไว้ที่ เว็บเซิร์ฟเวอรที่เรียกว่าการ upload และให้บริการโอนย้ายไฟล์จากเว็บเซิร์ฟเวอร์มายังฮาร์ดดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ เว็บไซต์อื่น ๆ ที่เรียกว่าการ Download โปรแกรมที่จะช่วยให้การ Upload download มีหลายตัวเช่น WS_FTP Flashget Download-Acc Cute-ftp เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงการใช้งานโปรแกรม Telnet ในระบบปฏิบัติการ UNIX อีกด้วย

FAQ
FAQ (Frequently Asked Questions) ซึ่งก็คือการที่เว็บไซต์นั้น ๆ ได้ทำการรวบรวมคำแนะนำดี ๆ ที่ได้รับจากผู้ที่เข้าชม เว็บไซต์หรือคำถามต่าง ๆ ที่เป็นคำถามที่ถูกถามถึงบ่อย ๆ เอาไว้เพื่อให้ผู้ชมสะดวกในการค้นหาสิ่งที่ต้องการ และรายละเอียด ต่าง ๆ ของ Web ที่ผู้ใช้อยากรู้

Homepage
สำหรับเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตต่างตกแต่งเว็บเพจของตนให้ดึงดูดความสนใจจากผู้ที่ใฝ่รู้ทั้งหลาย เป็นที่ ประทับใจแก่ผู้มาเยี่ยมชม เพื่อที่จะได้กลับมาเยี่ยมชมอีกหรือด้วยจุดประสงค์ที่ผู้ตั้งเว็บไซต์ต้องการ โดยเว็บเพจหน้าแรก ที่พบเมื่อเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์นั้นจะถูกเรียกว่า โฮมเพจ (Homepage) ซึ่งก็คือเอกสาร HTML ธรรมดาที่สามารถจะเข้าถึง ข้อมูลในเว็บไซต์ได้ มีจำนวนมากมักนิยมเรียกรวบเว็บไซต์สั้น ๆ ว่าโฮมเพจ ดังนั้น Homepage นั้นก็เสมือนเป็นประตู ที่จะเข้าไปสู่เว็บไซต์ที่เราสร้างขึ้น จริง ๆ แล้วโฮมเพจ เป็นเพียงโฟล์เดอร์หนึ่งในเว็บไซต์ โดยทั่วไปในเมืองไทยมัก เรียกโฮมเพจแทนเว็บไซต์ เนื่องมาจากความคุ้นเคยมากกว่า

HTML
HTML (Hyper Text Marup Language) เป็นเอกสารที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเอกสารอื่น จุดเด่นที่สำคัญที่สุดของ HTML นั้นก็คือ ความเป็นเอกสารที่มีความสามารถมากกว่าเอกสารทั่วไป และมีความสามารถแบบ Hypertext คือสามารถเปิด ดูได้โดยโปรแกรมแก้ไขข้อความต่าง ๆส่วนการเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเอกสารอื่น ๆ นั้นสามารถทำได้โดยการใส่สัญลักษณ์ พิเศษ เข้าไปในเอกสารที่เรียกว่า แท็ก (tag) ซึ่งจะถูกอ่านโดยโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ต่าง ๆ เช่น IE , Netscape , Opera ฯลฯ ซึ่งภาษา HTML นั้นมีรากฐานมาจากภาษา SGML (Standard General Marup Language) ซึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งที่ใช้ในการ ใช้งานอินเตอร์เน็ตในระยะแรก ๆ และต่อมาก็ได้มีการพัฒนาภาษา HTML อยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งปัจจุบันนี้เป็น HTML4 ภาษา HTML นั้นก็มีคุณสมบัติที่ง่ายต่อการเขียน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ไม่มีความรู้ทางด้านภาษาโปรแกรมใด ๆ เลย ก็สามารถเขียน ได้อย่างสบาย และจุดเด่นที่สำคัญที่สุด คือเราสามารถนำเสนอข้อมูลที่มีทั้งตัวอักษร ภาพ เสียง วิดีโอ และอื่น ๆ ที่รวมอยู่ในไฟล์ เดียวกันได้ และสามารถเชื่อมโยงกับเอกสารอื่น ๆ ได้ง่ายดาย

HTTP
HTTP (Hyper Text Transfer Protocol) เป็นข้อกำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารกัน (Protocol) ระหว่างบราวเซอร์และ เว็บ เซิร์ฟเวอร์ ซึ่ง HTTP โปรโตคอลนั้นก็จะทำงานอยู่บนโปรโตคอล TCP/IP อีกทีหนึ่งโดยที่เราเปิดโฮมเพจขึ้นมา บราวเซอร์จะ ติดต่อไปยังเว็บเซิร์ฟเวอร์ผ่านทางโปรโตคอล HTTP และจะส่งที่อยู่ไฟล์ข้อมูลหรือที่เรียกว่า URL ที่ต้องการไป และอาจมี ีข้อมูลอื่น ๆ เช่น ชื่อและรุ่นของบราวเซอร์ที่ใช้เปิดดูไฟล์ข้อมูลได้ จากนั้นเว็บเซิร์ฟเวอร์จะส่งข้อมูลกับมาตามข้อกำหนดของ HTTP เช่น ขนาดของข้อมูล , วัน เวลาที่สร้าง และเมื่อบราวเซอร์ได้รับข้อมูลครบแล้ว การติดต่อจะสิ้นสุดทันที และหากหน้า เว็บเพจใดมีข้อมูลที่มีหลายไฟล์ เช่น ไฟล์ภาพและเสียง ก็จะต้องมีการติดต่อไปหลายครั้ง และในแต่ละครั้งจะไม่เกี่ยวข้องกัน

Internet
อินเตอร์เน็ต (Internet) เราเรียกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้สื่อสารกับเครื่องที่อยู่ระยะไกล ๆ ได้ทั่วโลก การสื่อสารที่ สามารถเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลอย่างกว้างขวางได้ทั้งข้อความ ภาพ เสียง และวิดีโอ อาจจะเรียกกันอีกชื่อว่า ระบบใยแมงมุม (WORLD WIDE WEB หรือ WWW) ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีนั่นเอง ในตอนแรกนั้นอินเตอร์เน็ตเริ่มมาจาก เครือข่าย อาร์พาเน็ต (ARPANET : Advanced Research Project Agency Network) ซึ่งเป็นเครือข่ายทางทหารของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา กับมหาวิทยาลัยในแคลิฟอร์เนีย เมื่อ พ.ศ. 2512 เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการวิจัย และต่อมาได้ขยายไปยัง มหาวิทยาลัยต่าง ๆ จนมีขนาดใหญ่ขึ้น และทำให้เกิดปัญหาเกิดขึ้น ทางการทหารของสหรัฐจึงขอแยกตัวออกไปกลายเป็น เครือข่าว Millet Military Network แต่ก็ยังคงเชื่อมต่อกับเครือข่ายอาร์พาเน็ต ด้วยเทคนิคการโต้ตอบด้วย IP (Internet Protocol) ที่เรียกว่า TCP/IP และต่อมาก็ขยายไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ที่มีความสัมพันธ์ทางการทูกกับสหรัฐอเมริกา จนมีการเชื่อมต่อ กันด้วยระบบ "Internet Protocol" จนกลายเป็นอินเตอร์เน็ตอยู่ในปัจจุบันนี้ และเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้วนี่เอง

Intranet
ระบบอินทราเน็ต (Intranet) ก็คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันภายในพื้นที่ หรือองค์กรเดียวกัน ซึ่งเราเรียกกันว่า ระบบ LAN (Local Area Network) ซึ่งจะใช้กันภายในองค์กรต่าง ๆ เช่น อาจจะมีการติดต่อสื่อสารรับส่งข้อมูลกัน หรือบริการ รับฝากข้อความ (E-mail) หรือฐานข้อมูลภายในองค์กร ซึ่งไม่ได้ติดต่อกับภายนอกและต่อระบบ Lan ก็ได้พัฒนามาเป็นระบบ เครือข่ายวงกว้าง หรือระบบ Wan (Wide Area Network) ที่ใช้ในต่างพื้นที่กัน แต่ว่ามีข้อจำกัดเรื่องของสายสัญญาณภายใน ที่ใช้ต่อในแต่ละจุด ยิ่งจุดที่เชื่อมต่อไกลมาก ก็ยิ่งเสียค่าใช้จ่ายสูงและในปัจจุบันนนี้ระบบอินทราเน็ตนั้นก็ได้มีการเชื่อมต่อเข้า กับ ระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อลดค่าใช้จ่ายในกรณีที่มีเครื่องอยู่ในระยะไกล ๆ กัน

ISP
ISP (Internet Service Provider) เป็นบริษัทที่ให้การเชื่อมต่อแก่ลูกค้าที่สมัครเป็นสมาชิกโดยเรียกเก็บค่าชั่วโมงการใช้งานเป็นรายเดือน หรืออาจเป็นแบบ Package ราย 3 เดือน ราย 6 เดือน ก็ได้ เช่น KSC , CS-internet , Ji-net , Internet-Thailand เป็นต้น

Java Script
Java Script นั้นเป็นภาษาสคริปต์ ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากภาษา ไลฟ์สคริปตื (LiveScript) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยบริษัทเน็ตสเคป และภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป้น ภาษา Java Script อย่างในปัจจุบันนี้ ซึ่ง Java Scipt นั้นได้ใช้งานครั้งแรกใน Netscape Navigator รุ่น 2.0 และพัฒนามาเป็น Java Script 1.3 ใน Netscape Navigator รุ่น 4.0 สำหรับภาษาสคริปต์นั้นมีจุดเด่น กว่าภาษาคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ตรงที่ไม่จำเป็นจะต้องมีการแปลงภาษา (Compile) และรูปแบบของภาษาก็ง่ายต่อการเขียน เช่น ไม่เข้มงวดเรื่องแปร , ไม่ต้องประกาศชนิดของตัวแปร , ไม่ต้องระบุขนาดของอาร์เรย์ ไม่ต้องประกาศฟังก์ชัน และง่ายต่อการ เปลี่ยนแปลงแก้ไข และเพิ่มเติมโปรแกรมในภายหลัง

MIME
MIME (Multipurpose Internet Mail Extensions) ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับระบุชนิดของข้อมูล มาตรฐาน MIME ถูกสร้าง ขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับการส่งไฟล์แนบไปกับอีเมล์ แต่ภายหลังได้ถูกนำไปใช้ในหลาย ๆ งาน รวมทั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วย โดยการ แบ่งชนิดของข้อมูลใน MIME นั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ระดับ โดยใช้เครื่องหมาย / คั่น เช่น text/plain หมายถึงข้อมูลที่เป็นตัวอักษร (Text) และเป็นข้อความธรรมดา ส่วน text/html หมายถึง ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร และเป้นข้อมูล HTML หรือ image/jpg หมายถึงข้อมูลรูปภาพ และเป็นรูปภาพแบบ JPG เป็นต้น การทำงานหลาย ๆ อย่างของเว็บไซต์นั้นขึ้นอยู่กับ MIME เช่น การที่บราวเซอร์ได้รับข้อมูลที่เป็น Plug-in ประเภท application/x-shockwave-flash ก็จะทำการเรียก Plug-in Shockwave Flash ขึ้นมาแทน
Perl
Perl (Practical Extraction And Report Language) ซึ่งเป็นภาษาโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย Larry Wall เพื่อเป็นเครื่องมือ สำหรับการเขียนโปรแกรมในสภาวะแวดล้อมของระบบ Unix โดยเฉพาะ โดยภาษานี้ เป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นเหมือนกับ ภาษาชั้นสูงต่าง ๆ โดยลักษณะของภาษา Perl นั้นเป็นภาษาสคริปต์ ดังนั้นการรันสคริปต์จะต้องเรียก ตัวแปลงภาษาแบบ อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) ของ Perl มาอ่านสคริปต์และแปรคำสั่ง โดยไม่จำเป็นต้องมีการคอมไพล์สคริปตืก่อน จึงสะดวก และง่ายแก่การเขียน นอกจากนี้ภาษา Perl มักจะถูกติดตั้งมาพร้อม ๆ กับเซิร์ฟเวอร์ต่าง ๆ ในระบบ UNIX อยู่แล้ว จึงมีผู้นิยม นำเอาโปรแกรมภาษา Perl มาเขียนเป็น CGI จำนวนมากจนในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนา Perl บน Dos และ WINDOWS ได้แล้ว

Plug-in
Plug-in เป็นโปรแกรมเสริมที่นำมาติดตั้งเพิ่มเติมให้กับ Application ต่าง ๆ รวมทั้งต่อกับบราวเซอร์ด้วยโดยได้นำมาใช้กับ Netscape Navigator 2.0 เป็นครั้งแรก ซึ่ง Plug-in ต่าง ๆ นั้นจะเชื่อมบราวเซอร์กำหนดใน HTML ผ่านทาง API ที่กำหนดไว้ และจะแสดงผลในบราวเซอร์ เช่น Plug-in Shockwave Flash , Quicktime Movie , VRML-3D web เป็นต้น

Protocol
Protocol คือภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ในการสื่อสารทางเครือข่ายคอมพิวเตอรื โดยเราจะต้องใช้โปรโตคอลที่เหมือนกันเพื่อที่จะสื่อสารกันระหว่างเครือข่ายต่าง ๆ ได้ ซึ่งในปัจจุบันนี้ มีโปรโตคอลต่าง ๆ ที่ใช้อยู่เป็นจำนวนมาก โดยโปรโตคอลที่นิยมใช้กันทั่ว ๆ ไปได้แก่ TCP/IP , HTTP , FTP , PPP , SLIP ฯลฯ นอกจากนี้ โปรโตคอลยังรวมถึงข้อกำหนดและรูปแบบการรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ในระบบอีกด้วย

Script
สคริปต์ (Script) นั้นก็หมายถึงโปรแกรมสั้น ๆ สำหรับจัดการกับข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว โดยสคริปต์นั้นจะแทรกอยู่ในไฟล์ HTML หรืออาจจะแยกออกมาต่างหากก็ได้ ซึ่งสคริปต์นั้นมีทั้งแบบที่ทำงานที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ เช่น ASP PHP Perl หรือสคริปต์ ที่ทำงานที่บราวเซอร์ เช่น JavaScript , VBScript โดยสคริปต์ที่ทำงานในฝั่งเว็บเซิร์ฟเวอร์ จะเป็นการทำงานตามโปรแกรม ในสคริปต์จนเสร็จแล้วจึงส่งผลลัพท์มายัง บราวเซอร์อีกที ซึ่งส่วนใหญ่ไฟล์พวกนี้จะไม่เป็น *.htm *.html แต่ อาจจะเป็น *.asp *.shtml ส่วนสคริปต์ที่ทำงานฝั่งบราวเซอร์ก็เพื่อลดการทำงานและติดต่อกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ซึ่งส่วนใหญ่ จะใช้ในการตกแต่ง โฮมเพจ จัดการฟอร์มรูปภาพเคลื่อนไหว

Search Engine
เป็นบริการสืบค้นข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่ต้องมี search engine ก็เพราะว่าปัจจุบันนี้มีเว็บไซต์อยู่บนเครือข่ายนี้หลายร้อยล้านหน้าเลยทีเดียว หากเราจะหาเว็บไซต์สักแห่งหนึ่ง คงไม่ใช่ เรื่องง่ายนัก แต่หากเราใช้บริการของ Search Engine เพียงแค่ใส่ชื่อเรื่องที่เราต้องการ หรือคำสำคัญก็สามารถหา เว็บไซต์ นั้นเจอได้ง่ายดาย เช่น ถ้าเราจะค้นหาเว็บไซต์เกี่ยวกับกีฬาเราก็เพียงใส่คำว่า Sport ลงไป เป็นต้น

Server
เซิร์ฟเวอร์ (Server) คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นฐานข้อมูลที่ให้บริการต่าง ๆ กับเครื่องลูกข่าย (Client) โดยเครื่องที่ จะเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้นจะต้องมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไปเพื่อที่จะรองรับการทำงานของเครื่องลูกข่ายหลาย ๆ ตัวได้ ขึ้นอยู่กับขนาดของเครือข่ายและจำนวนเครื่องลูกข่ายที่ให้บริการ และยังมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีเยี่ยมด้วย เพื่อป้องกันพวกมือบอน แฮกเกอร์ เข้ามารบกวนระบบ

Style Sheet
Style Sheet เป็นคำใช้เรียกรวม ๆ ของ Style Sheet หลาย ๆ มาตรฐานด้วยกัน แต่ที่ W3C.COM แนะนำก็คือ CSS (Cascading Style Sheets) หรือ JSSS (JavaScript Style Sheet) จาก Netscape ซึ่งในอนาคตนั้น W3C.COM กำลังจะให้ XSL (Style Sheet Language) เป็น Style Sheet มาตรฐานของข้อมูล XML โดยลักษณะ Style Sheet ก็คือการกำหนดรูปแบบ การแสดงผลของข้อมูลโดยตรง เช่น กำหนดสีตัวอักษร Hyperlink ตั้งเอกสาร เราก็สามารถกระทำได้ ซึ่งจะทำให้เราสะดวก เมื่อต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงภายหลัง โดยที่ Style Sheet นั้น จะแทรกอยู่ระหว่าง แท็ก <HEAD>...</HEAD> ตัวอย่าง Style sheet <STYLE type="text/css"> A:link {color:"#003399";} A:visited {color:"#0088FF";} A:hover {color:"red";} </STYLE> ในตัวอย่างก็จะเป็นการกำหนดสีของ Hyperlink สีของ Hover (สีเวลาที่เราคลิก Hyperlink) และสีของ Hyperlink ที่เรียกดูแล้ว

TCP/IP
อินเตอร์เน็ตนั้นได้มีการเชื่อมต่อกันโดยโปรโตคอลของ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) ซึ่งใช้รับส่งข้อมูลผ่านทางอินเตอรืเน็ต โดยจะทำาการแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย ๆ เรียกว่าแพ็คเกจ (Package) จากนั้น ข้อมูลแต่ละแพ็คเกจก็จะถูกส่งไปยังปลายทาง โดยไม่จำเป็นต้องไปในเส้นทางเดียวกันทั้งหมดที่ปลายทาง แพ็คเกจที่มาถึง ทั้งหมดก็จะถูกนำกลับมาประกอบเข้ากันใหม่อีกครั้ง ซึ่งหากมีการสูญหายของแพ็คเกจระหว่างส่งโปรโตคอล TCP/IP จะสั่ง ให้มีการส่งแพ็คเกจนั้นซ้ำใหม่

Telnet
Telnet เป็นการขอใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จากระยะไกลผ่านทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งการใช้ Telnet เราสามารถใช้เครื่อง คอมพิวเตอร์ปลายทางที่ขอใช้ได้เหมือนกับเครื่องที่บ้านเราเอง ซึ่งเราจำเป็นจะต้องมีชื่อบัญชีผู้ใช้ในเครื่องที่ขอใช้ และการ ทำงานส่วนใหญ่จะใช้คำสั่งในระบบปฏิบัติการ Unix

URL
URL (Uniform Resource Location) คือที่อยู่หน้าเว็บเพจ สามารถดูได้จากแถบที่อยู่ทุกครั้งที่เปิดหน้าเว็บ ปกติแล้ว URL จะเป็นกลุ่มของตัวอักษร เช่น http://www.geocities.com/siamsix แต่เราสามารถใส่ตัวเลขลงไปได้ เช่น 202.150.8.92 และใน URL นั้นจะใช้"/" จะไม่ใช่"" เหมือนการอ้างอิงพาร์ในเครื่องเช่น C:WINDOWS ทำให้อาจจะพิมพ์ผิดได้ และ URL นั้นจะแยก ตัวอักษรใหญ่ และเล็กของชื่อไฟล์ เช่น INDEX.html กับ index.html นั้นเป็นคนละไฟล์กัน

VRML
VRML (Virtual Reality Modeling Language) ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับการสร้างโลก 3 มิติ โดยที่ VRML นั้นก็เป็นไฟล ์เอกสารธรรมดา เช่นเดียวกับไฟล์ HTML แต่จะเก็บข้อมูลที่ใช้สำหรับสร้างออบเจ็กต์ต่าง ๆ ในโลก 3 มิติ การใช้งาน VRML นั้นสามารถใช้ได้หลากหลาย เช่น แสดงโมเลกุลของสารเคมีต่าง ๆ หรือตัวอย่างสิ่งของที่สามารถหมุนดูได้ 360 องศา แต่ว่า VRML นั้นไม่มีการกำหนดการรับข้อมูลเป็น 3 มิติไว้ในมาตรฐาน ข้อมูล VRML นั้นสามารถแสดงผลได้ทั้งอุปกรณ์ 2 มิติ หรือใช้อุปกรณืโลกเสมือนก็ได้ ซึ่ง VRML นั้นอาจจะเทียบได้กับไฟล์ข้อมูลของ 3D Studio นั่นเอง ซึ่งต่างกับการใช้หมวกหรือ แว่น 3 มิติ ที่สามารถมองเห็นและจับต้องได้ ข้อมูล VRML นั้นสามารถแสดงบนบราวเซอร์ได้โดยใช้ Plug-in นอกจากนั้น VRML นั้นสามารถทำสคริปต์ด้วย Java Script ให้เป็นการสร้างภาพเคลื่อนไหว (Animation) ได้

XML
XML (EXtensible Markub Language) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้กำหนดรูปแบบของคำสั่งภาษา HTML หรือที่เรียกว่า Meta Data ซึ่งจะใช้สำหรับกำหนดรูปแบบของคำสั่ง Markup ต่าง ๆ แต่มีข้อแตกต่างกับ HTML ที่เป็น Markup Language โดยที่ XML นั้นได้ถูกพัฒนามาจาก SGML (Standard Generalized Markup Language) ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับการกำหนดการแสดง ผลเอกสาร สำหรับการแสดงผลบนอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ ซึ่ง HTML นั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของ SGML และคำสั่งหรือแท็กที่ใช้ในเอกสาร จะถูกกำหนดมาตรฐาน DTD (Document Type Definition) ซึ่งเป็นภาษาที่สำหรับกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ของแท็กได้ เช่น พารามิเตอร์ของแท็ก เป็นต้น การใช้งาน XML นั้น จำเป็นต้องใช้ร่วมกับ Style Sheet หรือมาตรฐานอื่น ๆ เพราะ XML เพียงแต่กำหนดรูปแบบของแท็ก แต่ไม่ได้กำหนดว่าแท็กใจะแสดงผลแบบใด เพราะเมื่อเอาข้อมูลในรูปแบบ XML ไปแสดงผล ในอุปกรณ์ชนิดใด ก็จะต้องใช้วิธีแสดงผลของอุปกรณ์นั้น เช่น ใช้มาตรฐาน SMIL สำหรับข้อมูลมัลติมีเดียว หรือใช้ Style Sheet XSL สำหรับการแสดงผลในบราวเซอร์ นอกจากนี้ XML ยังสนับสนุนตัวอักษรภาษานานาชาติ โดยใช้มาตรฐาน ISO 10646 โดยจุดมุ่งหมายของภาษา XML นั้นก็คือภาษาเรียบง่าย มีคำสั่งน้อยที่สุด และสามารถเขียนได้ด้วยโปรแกรมแก้ไขข้อความ (Text Editor) ได้ และสนับสนุนแอพพลิเคชันหลาย ๆ ชนิด และในปัจจุบันนี้ได้เริ่มมีการพัฒนาภาษา Markup ตามข้อกำหนดของ XML แล้ว เช่น SMIL สำหรับควบคุมข้อมูลมัลติมีเดีย

WAP
WAP (Wireless Application Protocol) ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสาร และถ่ายโอนข้อมูลในระบบของอุปกรณ์ สื่อสารไร้สายต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ , PDA หรือเครื่อง Palm เพื่อให้อุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถใช้บริการต่าง ๆ ผ่าน อินเตอร์เน็ตได้เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ

Website
เว็บไซต์ นั้นเป็นคำที่ถูกเรียกเป็นตำแหน่งที่อยู่ของผู่ที่มีเว็บเป็นของตัวเองบนอินเตอร์เน็ต หรือก็คือ เว็บเพจทั้งหมด ที่มีอยู่ในพื้นที่เก็บข้อมูลในอินเตอร์เน็ตของเรานั่นเอง ซึ่งจะได้จากการที่เราลงทะเบียนกับผู้ให้เช่าบริการพื้นที่ใน อินเตอร์เน็ตหรือพื้นที่ฟรีต่าง ๆ จากนั้นก็ทำการ Upload ไฟล์ของโฮมเพจของเรา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วหน่วยงานรัฐบาล ภาครัฐ และบริษัทต่าง ๆ ก็มักจะมีเว็บไซต์กันเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันนี้ไม่เพียงจะจำกัดอยู่เพียงเท่านี้ ผู้ใช้ที่เป็นคนธรรมดาอย่างเรา ๆ ก็สามารถที่จะมีที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตได้อย่างสบาย ๆ ซึ่งประโยชน์ของเว็บไซต์ก็มีมากมายไม่ว่าจะเป็นการประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ บริการรับส่ง E-mail บริการรับส่งข้อมูลผ่านทางโปรโตคอล FTP และอื่น ๆ

·         การ์ดจอ
o    อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการจัดการให้เกิดการแสดงผลบนหน้าจอคอมพิวเตอร์
·         คีย์บอร์ดหรือแป้นพิมพ์ (Keyboard)
o    อุปกรณ์ในการสั่งงานคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่ง ในรูปแบบของการพิมพ์
·         คอมโบไดรซ์ (Combo-Drive)
o    อุปกรณ์สำหรับอ่าน/เขียนแผ่น CD แต่ไม่รองรับการเขียนแผ่น DVD แต่อ่านแผ่น DVD ได้
·         คอมพิวเตอร์เคส (Computer Case)
o    ตัวเครื่องที่หุ้มห่อชิ้นส่วนของคอมพิวเตอร์
·         เครื่องพิมพ์ (Printer)
o    อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับพิมพ์งานจากคอมพิวเตอร์ออกมาทางกระดาษ เครื่องพิมพ์มีหลายชนิดได้แก่ เลเซอร์, หัวเข็ม, แบบพ่นหมึก เป็นต้น
·         ซอร์ฟแวร์?(Software)
o    โปรแกรมในการใช้งาน เพื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง
·         ซีดีรอมไดรซ์ (CD-ROM Drive)
o    อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับอ่าน/เขียนแผ่น CD/DVD ทั้งนี้ขึ้นกับรุ่นที่ใช้งานว่ารองรับการอ่าน/เขียนแผ่น CD ประเภทไหนบ้าง
·         ซีอาร์ที มอนิเตอร์?(CRT Monitor)
o    จอภาพประเภทหนึ่ง ที่มีลักษณ์เหมือนจอโทรทัศน์รุ่นเก่า
·         ซีพียู (CPU)
o    หน่วยความผล หรือสมองของคอมพิวเตอร์
·         พอร์ต (Port)
o    ช่องทางสื่อสารของคอมพิวเตอร์ พอร์ตมีหลายอย่างเช่น Serial Port, Parallel Port, USB Port เป็นต้น
·         พาวเวอร์ซัฟฟลาย (Power Supply)
o    อุปกรณ์ในการควบคุมและจ่ายกระแสไฟภายในคอมพิวเตอร์
·         แฟลชไดรฟ์ (Flash Drive)
o    อุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบแฟลช แบบเคลื่อนย้ายได้ มีขนาดเล็ก พกพาได้สะดวก เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านทางพอร์ต USB
·         เม้าส์ (Mouse)
o    อุปกรณ์ในการสั่งงานคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่ง ในรูปแบบของการคลิก
·         เมนด์บอร์ด/มาสเตอร์บอร์ด (Mainboard / Masterboard)
o    อุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นจุดศูนย์รวมการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ทุกชิ้นของคอมพิวเตอร์
·         ยูพีเอส (UPS)
o    อุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันไฟฟ้าดับ มีแบตเตอรี่ในตัว ในเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ
·         ยูเอสบี (USB)
o    ช่องทางการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ กับคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้งานมากที่สุด
·         สแกนเนอร์ (Scanner)
o    อุปกรณ์ในการสแกนภาพจากสิ่งต่างๆ เข้าไปเก็บในคอมพิวเตอร์ในรูปแบบของไฟล์ (คล้ายการถ่ายภาพ)
·         เว็บแคม (Web Cam)
o    เป็นอุปกรณ์ในการสื่อสารในรูปแบบวีดีโอ สามารถสื่อสารผ่านทางอินเตอร์เน็ตแบบเห็นภาพเคลื่อนไหวได้
·         หน่วยความจำ (RAM)
o    หน่วยความจำที่ใช้สำหรับการประมวลผลข้อมูล
·         แอลซีดี มอนิเตอร์?(LCD Monitor)
o    จอภาพประเภท แอลซีดี มีขนาดบาง ประหยัดพลังงาน
·         ฮาร์ดดิกส์ (Harddisk)
o    อุปกรณ์ในการเก็บข้อมูลที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์
·         ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
o    อุปกรณ์หรือชิ้นส่วนทั้งหมดของคอมพิวเตอร์ที่สามารถจับต้องได้ รวมทั้งภายนอกและภายในตัวเครื่องด้วย
·         ADSL: Asymmetric Digital Subscriber Line
o    ระบบที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อความเร็วสูงประเภทหนึ่ง การเชื่อมต่อจะทำการผ่านทางสายโทรศัพท์ จุดเด่นของ ADSL ขณะใช้งาน ยังสามารถใช้โทรศัพท์พร้อมกันได้
·         Bandwidth
o    ความเร็วในการรับส่งข้อมูล มีหน่วยเป็น Bits per second
·         Broadband
o    การรับส่งข้อมูลความเร็วสูง
·         Dial-Up
o    การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านทางโมเด็ม และทางสายโทรศัพท์ มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลไม่เกิน 56 KBPS
·         Domain Name
o    ชื่อของเว็บไซต์ เช่น www.it-guides.com เป็นต้น
·         E-Mail: Electronic Mail
o    การรับส่งข้อจดหมายในรูปแบบอิเลคทรอนิกส์ ตัวอย่างชื่ออีเมล์ info@it-guides.com This e-mail address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it เป็นต้น
·         Flash
o    เทคโนโลยีอย่างหนึ่งในการทำภาพเคลื่อนไหว ผลที่ได้มีขนาดเล็ก แสดงผลได้สวยงาม
·         FLV
o    ไฟล์ Flash ประเภทหนึ่งที่นิยมใช้สำหรับการแปลงจากไฟล์วีดีโอทั่วไป และนำมาแสดงบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
·         FTP : File Transfer Protocal
o    มาตราฐานในการรับส่งข้อมูลผ่านทางระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีประสิทธิภาพและความเร็วสูงกว่าการโอนย้ายทาง http:
·         GIF
o    ไฟล์รูปภาพประเภทหนึ่งที่สามารถแสดงบนเว็บไซต์ได้ จุดเด่นคือสามารถแสดงภาพเคลื่อนไหวได้
·         Home Page
o    หมายถึงหน้าแรกของเว็บไซต์
·         HTTP: Hypertext Transfer Protocal
o    มาตราฐานในการรับส่งข้อมูลผ่านทางระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
·         HTTPs:
o    มาตราฐานในการรับส่งข้อมูลผ่านทางระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต แต่เพิ่มความสามารถในเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัย (Security)
·         IP Address: Internal Protocal Address
o    หมายถึงที่อยู่ของคอมพิวเตอร์ของแต่ละเครื่อง ปกติจะมีชื่อเป็นกลุ่มของหมายเลข 4 กลุ่ม เช่น 192.168.1.1 เป็นต้น
·         Leased Line
o    การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูงอีกประเภทหนึ่ง (นอกเหนือจาก Dial-up, ADSL) นิยมใช้กับองค์ที่ต้องการความเร็วสูง และเป็นช่องสัญญาณส่วนตัว ไม่มีมีการแบ่งหรือ share กับใคร
·         Plug-ins
o    โปรแกรมเสริม หรือเพิ่มเติม สำหรับโปรแกรมใด โปรแกรมหนึ่ง เช่น Plug-ins ของ FireFox เป็นต้น
·         URL: Uniform Resource Locator
o    สำหรับระบุตำแหน่งที่อยู่ของเว็บไซต์ อาจหมายถึงตำแหน่ง address ได้ด้วย
·         Web Browser
o    โปรแกรมสำหรับค้นหาข้อมูลทางระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น Internet Explorer, Safari, Firefox เป็นต้น
·         Web page
o    หมายถึงทั้งเว็บไซต์
·         WWW: World Wide Web
o    ระบบข้อมูลประเภท Hypertext ที่ใช้ในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
 
;