โครงสร้างของเอกสารHTML

กลับหน้าแรก

โครงสร้างของเอกสารHTML

 

ประกอบด้วยส่วนประกอบ 2 ส่วนคือ ส่วนหัวของเอกสาร  (Head Section) และส่วนเนื้อหาของเอกสาร (Body Section) โดยส่วนหัวของเอกสารจะอยู่จะอยู่ภายใต้ป้ายระบุหรือคำสั่ง <head>…</head> และส่านเนื้อหาของเอกสารจะอยู่ภายใต้ป้ายระบุหรือคำสั่ง <body>…</body> โดยทั้งสองส่วนจะอยู่ภายในป้ายระบุหรือคำสั่ง <html>…</html> ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้สำหรับบอกว่าเอกสารนี้เป็นเอกสารเอชทีเอ็มแอล

<html>

<title>ข้อความต้องการให้แสดงใน title bar<title>

      <head>

            คำสั่งที่อยู่ในส่วนหัวของเอกสาร

      </head>

      <body>

            คำสั่งที่อยู่ในส่วนเนื้อหาของเอกสาร

      </body

</html>

ส่วนหัวเรื่องของเอกสารเว็บ (Head Section) เป็นส่วนที่ใช้สำหรับอธิบายข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวกับเอกสารเว็บนั้นเช่น ชื่อเรื่องของเอกสารเว็บ (Title) ซึ่งของผู้จัดทำเว็บ (Author) คำสำคัญหรือคีย์เวิร์ด (Keyword) เพื่อใช้สำหรับให้ผู้ใช้งานคนอื่นค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเว็บเพจที่ได้ทำการสร้างขึ้น บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยป้ายระบุ (Tag) หรือคำสั่งที่สำคัญคือ

- meta เป็นส่วนที่ไม่ปรากฏผลบนโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ใช้ในการทำคลังบัญชีเว็บเพจ สำหรับใช้ในการสืบค้นเว็บเพจ (Search Engine) จากผู้อื่น

- title ใช้สำหรับบอกชื่อเรื่องของเอกสารเว็บ โดยข้อความนี้จะปรากฏที่แถวชื่อด้านบนสุดของโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ โดยข้อความนี้ครอบคลุมถึงเนื้อหาทั้งหมดของเอกสารเว็บ

<head>

  <meta name = "Author" content = "ชื่อผู้สร้างเวบเพจ"

  <meta name = "Keyword" content = "คำสำคัญ1, คำสำคัญ2, ..."

<title>ข้อความที่ใช้เป็นข้อความหัวเรื่องของเอกสาร</title>

      </head>

การพิมพ์ชุดคำสั่งของภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) สามารถใช้ได้ทั้งตัวอักษรพิมพ์เล็กและตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ หรือผสมกันทั้งสองแบบ และสามารถใช้ย่อหน้า เว้นบรรทัด หรือช่องว่างสามารถทำได้อย่างอิสระ  โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์จะไม่สนใจเกี่ยวกับระยะเว้นบรรทัด ย่อหน้า หรือช่องว่าง แต่จะเป็นประโยชน์สำหรับการอ่านคำสั่งของผู้สร้างอกสารเว็บ และประโยชน์ทำการพัฒนาเว็บเพจ

ส่วนเนื้อหาเอกสารเว็บ (Body Section) เป็นส่วนเนื้อหาหลักของเอกสารเว็บ โดยส่วนนี้จะเป็นส่วนที่นำไปแสดงผลบนโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งการแสดงผลนั้นจะใช้ป้ายระบุหรือคำสั่งเป็นตัวควบคุมรูปแบบการแสดงผล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นข้อความ รูปภาพ หรือ เสียง

การเขียนป้ายระบุ (Tag) หรือคำสั่ง จะไม่มีข้อจำกัดสามารถป้อนคำสั่งติดกันหลายคำสั่งในหนึ่งบรรทัด หรือจะมีเพียง 1 บรรทัดต่อ 1 คำสั่งก็ได้ โดยทั่วไปแล้วจะยึดหลักการจัดวางที่ทำให้ผู้ที่สร้างเอกสารเว็บนั้นสามารถทำความเข้าใจได้ง่าย เช่นทำการจัดย่อหน้าในชุดคำสั่งที่เกี่ยวข้องกันให้อยู่ในย่อหน้าระดับเดียวกัน ซึ่งคำสั่งที่ใช้กำหนดรูปแบบการแสดงผลทั้งหมด ที่เป็นส่วนของเนื้อหาของเอกสาร จะอยู่ระหว่างป้ายระบุ (Tag) หรือคำสั่ง <body>…</body> สามารถแบ่งกลุ่มคำสั่งได้ดังนี้

- กลุ่มคำสั่งการจัดย่อหน้า

- กลุ่มคำสั่งจัดควบคุมรูปแบบตัวอักษร

- กลุ่มคำสั่งการจัดทำเอกสารแบบรายการ

- กลุ่มคำสั่งการเชื่อมโยงเอกสาร

- กลุ่มคำสั่งจัดการรูปภาพ

- กลุ่มคำสั่งจัดการตาราง

- กลุ่มคำสั่งการแบ่งส่วนของเอกสาร

- กลุ่มคำสั่งอื่น ๆ

 

 
;